Slider
หน้าแรก > ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมา

ประจำจังหวัดปทุมธานี

           ในปีพุทธศักราช 2488 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ นับเป็นจุดเปลี่ยนแปลงสำคัญของการบริหารกิจการศาสนาอิสลาม และเป็นจุดเริ่มต้นของการบริหารองค์กรศาสนาอิสลามอย่างเป็นระบบ รัฐบาลโดยการนาของ นายควง อภัยวงษ์ ได้มีการตรากฎหมาย เพื่อจัดระบบการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม ทั้งในระดับประเทศ ระดับจังหวัด และมัสยิด ขึ้น เรียกว่า พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พุทธศักราช 2488 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 ทำให้มีคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย คณะกรรมการอิสลามประจาจังหวัด และคณะกรรมการอิสลามประจามัสยิด เป็นต้นมา 

          คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เป็นคณะผู้บริหารกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทย โดยใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 ซึ่งระบุให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่าคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ประกอบด้วยจุฬาราชมนตรีเป็นประธานกรรมการ และกรรมการ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งจากกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ซึ่งเป็นผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด จังหวัดละหนึ่งคน และจากกรรมการอื่นซึ่งคัดเลือกโดยจุฬาราชมนตรีมีจำนวนหนึ่งในสามของจำนวนผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี 

คุณสมบัติของกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย

  • เป็นมุสลิมผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
  • มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบปีบริบูรณ์
  • เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในศาสนาอิสลามเป็นอย่างดี
  • เป็นผู้ประพฤติปฏิบัติตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามโดยเคร่งครัด
  • เป็นผู้มีความสัมพันธ์อันดีกับทุกศาสนา
  • เป็นผู้มีความเลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  • ไม่เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย
  • ไม่เป็นผู้เคยถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
  • ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไร้ความสามารถ หรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย

  • ให้คำปรึกษาแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  • ให้คำปรึกษาหรือข้อแนะนำเกี่ยวกับศาสนาอิสลามแก่คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด และคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด
  • แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมอบหมาย
  • ออกระเบียบเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินและการจัดหาผลประโยชน์ของสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดและมัสยิด
  • ออกระเบียบวิธีการดำเนินงานและควบคุมดูแลการบริหารงานของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดและคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด
  • ปฏิบัติหน้าที่เป็นคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในจังหวัดที่ไม่มีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ในการนี้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยจะมอบหมายให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่ใกล้เคียงปฏิบัติหน้าที่แทนก็ได้
  • พิจารณาวินิจฉัยคำร้องคัดค้านของกรรมการอิสลามประจำมัสยิดซึ่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมีมติให้พ้นจากตำแหน่งหรือมีพการกระทำที่ไม่สมควรกับตำแหน่ง
  • จัดทำทะเบียนทรัพย์สิน เอกสารและบัญชีรายรับรายจ่ายของสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยให้ถูกต้องตามความเป็นจริง
  • ออกประกาศและให้คำรับรองเกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลาม
  • ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมทางศาสนา และการศึกษาศาสนาอิสลาม
  • ประสานงานกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องในกิจการที่เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม
  • ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540
  • นอกจากนี้แล้วคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยยังเป็นองค์กรสำคัญในการประสานความร่วมมือในการจัดงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทยอีกด้วย