เบอร์โทร :
ก่อนปี พ.ศ.2500 หมู่บ้านคลองซอยที่ 8 หมู่ที่ 5 ตำบลลำลูกกา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี แห่งนี้เป็นชุมชนมุสลิมเล็กๆ ที่รวมตัวกันอยู่ไม่เกิน 40 หลังคาเรือน พวกเขาร่วมกันจัดตั้งบาลาซะห์ ให้ชื่อว่า บาลาซะห์อัสซารุ๊สซุนนะห์ ใช้เป็นสถานที่อบรมหลักการศาสนาแก่เยาวชนในหมู่บ้าน และใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจการศาสนาเล็กๆ น้อยๆในบางเวลา บางโอกาส สำหรับศาสนกิจหลักๆ เช่น การละหมาดวันศุกร์ การละหมาดวันตรุษ จะเดินทางไปร่วมประกอบศาสนกิจ ณ มัสยิดอีรอด้าตุ๊ลกาแมล ตั้งอยู่หมู่ที่ 10 ตำบลลำลูกกา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
ประมาณปี พ.ศ.2515 ในหมู่ที่ 5 มีพี่น้องมุสลิมเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ประชากรในชุมชนจึงมีการปรึกษาหารือและมีมติร่วมกันให้จัดตั้งบาลาซะห์เป็นมัสยิดเพื่อใช้ประกอบศาสนกิจทุกๆ ด้าน และได้สร้างบาลาซะห์หลังใหม่ขึ้นเป็นเรือนไม้ขนาดกว้าง 3 ตารางวา ยาว 9 ตารางวา สูงกว่าพื้นดิน 1 เมตร หลังคามุงด้วยสังกะสี ใช้สถานที่แห่งนี้ในการปฏิบัติศาสนกิจต่างๆ เป็นเวลาประมาณ 20 ปีเศษ การออกมาจัดตั้งมัสยิดในครั้งนี้ คณะกรรมการไม่สามารถดำเนินการขอจัดตั้งและจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่ถูกต้องตามกฎหมายได้ เนื่องจากบาลาซะห์ ยังไม่มีที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของมัสยิดเอง ซึ่งที่ดินที่สร้างบาลาซะห์ปัจจุบันเป็นที่ดินที่เช่าอาศัยอยู่ บรรดาท่านผู้ใหญ่และคณะกรรมการบริหาร จึงประชุมปรึกษาหารือกันเพื่อจัดหาเงินซื้อที่ดินอุทิศให้เป็นของมัสยิดอย่างน้อย 100 ตารางวา เวลาล่วงเลยมานานหลายปีก็ยังไม่ปรากฏผลสำเร็จแต่ประการใด
ในปี พ.ศ.2525 ฮัจยะห์แมะ (สมพงษ์) จันโต ซึ่งต้นตระกูลเดิมท่านมีภูมิลำเนาอยู่ที่คลองแปด หมู่ที่ 5 ต่อมาได้ย้ายไปอาศัยอยู่ในชุมชนมัสยิดมหานาค ฮัจยะห์แมะ (สมพงษ์) จันโต ได้เห็นว่าบาลาซะห์หลังนี้คับแคบและทรุดโทรมมากไม่สามารถซ่อมแซมได้ จึงอุทิศที่ดินจำนวน 10 ไร่ 13 ตารางวา เพื่อเป็นสถานที่ก่อสร้างมัสยิด โรงเรียนสอนศาสนา และจัดสรรให้พี่น้องมุสลิมที่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเองได้เช่าอาศัย มีการจัดสาธารณประโยชน์ต่างๆ เพื่อนำรายได้มาพัฒนาบริหารในกิจการมัสยิดและโรงเรียนสอนศาสนา เมื่อพี่น้องมุสลิมในชุมชนได้ทราบข่าวว่ามีผู้อุทิศที่ดินให้ ทุกคนต่างรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งและต่างได้ชุโก๊ร (ขอบคุณ) ในพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระองค์อัลเลาะห์ (ซ.บ.) ที่ได้ประทานเนี๊ยะมัติความโปรดปรานต่อพี่น้องมุสลิมทุกคนในชุมชน
ด้วยความยินดีเนื่องจากได้รับความโปรดปรานดังกล่าว อิหม่ามและคณะกรรมการในขณะนั้นจึงดำเนินการขอจัดตั้งและจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลโดยใช้ชื่อว่า “มัสยิดกอซีมิสสยามี” ซึ่งเป็นนามสกุลเดิมของผู้ที่อุทิศที่ดินแห่งนี้ (อาเก็บกอซีมิสสยามี) ซึ่งได้รับการอนุมัติโดยได้ทะเบียนเลขที่ 27/2529 พร้อมกันนั้น อิหม่าม คณะกรรมการ และสัปปุรุษจึงมีมติจัดงาน “สายธารแห่งศรัทธา ครั้งที่ 1” เพื่อการวางรากฐานเสาเอกต้นแรกในการสร้างมัสยิดหลังใหม่ ได้รับการสนับสนุนจาก อัลมัรฮูมอาจารย์เสนีย์ มะดากะกุล โดยเรียนเชิญ อัลมัรฮูม ดร.ประเสริฐ มะหะหมัด จุฬาราชมนตรี มาเป็นประธานในพิธี เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2527 หลังจากเสร็จงานครั้งนั้นแล้ว คณะกรรมการและสัปปุรุษได้ร่วมกันสร้างและต่อเติมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน มัสยิดกอซีมิสสยามี ปัจจุบันเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว ขนาดกว้าง 3 วา ยาว 19 วา ใช้เป็นสถานที่ในการปฏิบัติศาสนากิจ และกิจกรรมต่างๆ ปัจจุบันมัสยิดประชากรประมาณ 180 ครอบครัว มีสัปปุรุษประมาณ 900-1,000 คน
นายอารมณ์ อาเก็บ
(อิหม่าม)
นาย ประวิทย์ อาเก็บ
( คอเต็บ )
นาย สุนัย สมบูรณ์
( บิหลั่น )
นายซำ จำปี
( เลขานุการ )
นาย …….
( เหรัญญิก )
นาย……..
( นายทะเบียน )
นาย……..
( กรรมการ )
นาย……..
( กรรมการ )
นาย……..
( กรรมการ )
นาย……..
( กรรมการ )
นาย……..
( กรรมการ )
นาย……..
( กรรมการ )
นาย……..
( กรรมการ )
นาย……..
( กรรมการ )
นาย……..
( กรรมการ )
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์0000004258 คน