ที่อยู่ : หมู่ที่ 7 ตำบลสวนพริกไทย อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
เบอร์โทร : 0927960190
ชื่อผู้ดูแล :
กำเนิดตำบลสวนพริกไทย ตามคำบอกเล่ากล่าวว่า ก่อนหน้าที่จะเป็นตำบลสวนพริกไทยนั้น ตำบลนี้ไม่ได้ชื่อ “ตำบลสวนพริกไทย” ชุมชนแห่งนี้ทำการเกษตร ไม่แน่ชัดว่ายุคแรกนั้นทำการเกษตรอะไร ต่อมาทางการขุดคลองส่งน้ำ(เรียกว่าคลองขุด หรือคลองฆาลี หรือฆาลองฆาลี) เพื่อการเกษตรกรรม รวมถึงทางการได้นำพันธ์พริกไทยให้ทางชุมชนมุสลิมแห่งนี้เพื่อเพาะปลูก
สวนพริกไทย เป็นตำบลหนึ่งอยู่ในเขตอำเภอเมือง ปทุมธานี ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณแม่น้ำอ้อม(แม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่า) ในตำบลนี้แต่ก่อนสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีการทำสวนพริกไทยเพื่อส่งหลวง
ภายหลัง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเยี่ยมเยือนชุมชนมุสลิมจากปัตตานี และเชลยศึกชาวลาวในย่านดังกล่าว และประทับอยู่ที่วัดสร้อยทอง กาลเวลาล่วงมา ท้องถิ่นนี้กลายเป็นชุมชนที่หนาแน่นขึ้น ทางราชการจึงยกฐานะขึ้นเป็นตำบล ให้ชื่อว่า “ตำบลสวนพริกไทย” และวัดสร้อยทองได้เปลี่ยนเป็นชื่อว่า “วัดเสด็จ”
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จมาดูแลชาวไทยมุสลิมด้วยพระองค์เอง ว่ามีความเป็นอยู่อย่างไร ชาวไทยมุสลิมได้ประกอบอาชีพทำนา แต่ทำไม่ได้ จึงโปรดเกล้าฯให้ขุดร่องสวน(คลองฆาลี) พริกไทยซึ่งเป็นอาชีพดั้งเดิมของภาคใต้ทำการเพาะปลูกพริกไทยส่งหลวง การเสด็จมาเยี่ยมราษฎรครั้งนี้ ได้ประทับที่วัดสร้อยทอง ประชาชนจึงเรียกวัดสร้อยทองว่าวัดเสด็จตั้งแต่นั้นมา ต่อมาภายหลังทางราชการยกฐานะหมู่บ้านแห่งนี้ให้เป็น ตำบลสวนพริกไทย จนทุกวันนี้
ยุคติดต่อกับโลกภายนอก
ในปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ชุมชนแห่งนี้ได้มีการเริ่มส่งลูกหลานไปเรียนทางด้านศาสนาอิสลามต่างถิ่น เช่น ปัตตานี อยุธยา และบางส่วนไปที่ มาลายา(มาเลเซีย) มีการติดต่อกับปัตตานีเพื่อส่งบุตรหลานไปเรียนปอเนาะ หรือเรียนศาสนา เฟื่องฟูที่สุดในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้นมา บางครอบครัวมีการอพยพมาภายหลัง จึงมีเรื่องเล่าของแต่ละตระกูลต่างกัน เช่น บางครอบครัวมาจากมาเลเซีย ติดต่อและส่งลูกหลานไปเรียนถึงมาเลเซีย บางครอบครัวส่งบุตรหลานไปเรียนที่ปัตตานี จึงมีความสนิทสนมกับผู้คนที่อยู่ที่ปัตตานี เป็นต้น
ส่วนสาเหตุที่ส่งบุตรหลานไปเรียนที่ปัตตานีกันมากนั่นคือ 1.) ส่วนใหญ่คนในชุมชนพูดภาษามลายูตั้งแต่กำเนิด 2.) ผู้มีความรู้หรือนักปราชญ์ และปอเนาะที่เมืองปัตตานีนั้นมีมากมาย 3.) ปัตตานีเป็นพื้นเพของคนในชุมชนแห่งนี้
มัสยิดยุมรอตุลอิสลาม
มัสยิดยุมรอตุลอิสลามตามคำบอกเล่าของบรรพบุรุษมีทั้งหมด 4 หลัง ได้แก่
1. มัสยิดหลังแรกเป็นเรือนไม้ อาคารใหญ่มาก เพราะมีประชากรมากในสมัยแรกๆ(เริ่มก่อสร้างเมื่อมาตั้งถิ่นฐานในยุคแรกๆ) แต่ได้ถูกไฟไหม้เมื่อครั้งไฟไหม้ใหญ่ ส่วนสาเหตุที่มีไฟไหม้ใหญ่ เพราะการวางเพลิงบ้านผู้คน ลามมาถึงมัสยิด และสาเหตุที่มีการวางเพลิงตามบ้านนั้นเป็นเรื่องความขัดแย้งส่วนบุคคล
2. มัสยิดหลังที่ 2 เป็นมัสยิดเรือนไม้เช่นกัน แต่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก
3. มัสยิดหลังที่ 3 เป็นเรือนไม้เช่นกัน ขนาดใหญ่กว่ามัสยิดหลังที่ 2 เล็กน้อย
4. มัสยิดหลังที่ 4 คือหลังปัจจุบัน สร้างขึ้นโดยใช้ปูนคอนกรีต สร้างเมื่อ พ.ศ. 2519 และต่อเติมอาคารด้านนอกเมื่อ พ.ศ. 2523
สุสาน หรือกุโบร์(ที่ฝังศพของชาวมุสลิม)
สุสานหรือกุโบร์ประจำมัสยิดมีทั้งหมด 5 สุสานสำคัญ ดังนี้
1) กุโบร์บือซา หรือปาลอกุโบร์ หรือกุโบร์ใหญ่ ปัจจุบันอยู่ใต้ทางด่วนริมคลองเชียงราก เลิกใช้งานแล้ว
2) กุโบร์โต๊ะเยาะฮ์
3) กุโบร์ตางุฮ์ หรือกุโบร์กลาง
4) กุโบร์ศาลา(เป็นกุโบร์ที่ใช้งานปัจจุบัน)
5) กุโบร์แอซิว(เป็นกุโบร์ปัจจุบันของพี่น้องนายูลามู)
นาย ยาลาลุดดีน อาดำ
(อิหม่าม)
นาย เลาะ ถนอมใจ
( คอเต็บ )
นาย อนุมัญ มะหะหมัด
( บิหลั่น )
นาย อิสมาอีน นิยม
( เลขานุการ )
นาย สุกรี มะหะหมัด
( เหรัญญิก )
นาย สมบัติ โมหะหมัด
( นายทะเบียน )
นาย อมร มะหะหมัด
( กรรมการ )
นาย ธนิต พลีบัตร
( กรรมการ )
นาย อโนชา อาดำ
( กรรมการ )
นาย กรวิทย์ โมหะหมัด
( กรรมการ )
นาย สาและ วงษ์ยีเมาะ
( กรรมการ )
นาย ไฟซ้อน ยิ่งนิยม
( กรรมการ )
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์0000004279 คน