Slider
หน้าแรก > มัสยิด จ.ปทุมธานี > มัสยิดเนี๊ยะมาติลละห์

มัสยิดเนี๊ยะมาติลละห์

ข้อมูลมัสยิด

เลขที่จดทะเบียน : 10/2495

ที่อยู่ : หมู่ 3 ตำบลหน้าไม้ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี 12140 

เบอร์โทร : 

ชื่อผู้ดูแล :

แผนที่

ประวัติความเป็นมา

      ในสมัยรัชการที่ 1 ได้มีพลเมืองทางภาคใต้ (จังหวัดปัตตานี) อพยพติดตามกองทัพไทยที่ยกไปปราบปรามหัวเมืองที่แข็งเมืองจนสำเร็จมาสู่พระนครและได้รับพระกรุณาให้อยู่ในท้องที่อำเภอปากเกร็ด ตำบลท่าอิฐ จังหวัดนนทบุรี ที่ปากลัด อำเภอ พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ และมีนบุรี หนองจอก เป็นต้น
       เมื่อได้พำนักอยู่ในสถานที่ดังกล่าวแล้ว จึงได้มีการแยกย้ายไปจับจองที่ทำมาหากินกันใหม่ ผู้ที่อยู่ในตำบล ท่าอิฐ ก็ขยายออกไปสู่คลองละหาร คลองลำรี คลองลากค้อน คลองพระพิมล คลองอ่างแตก (ปัจจุบันทางราชการเรียกว่า คลองพระอุดมสอง แต่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า คลองขุดใหม่)

       กลุ่มผู้ที่ได้แยกย้ายกันมานั้นมาจากสถานที่ต่างกัน จากสายทางปากลัด อำเภอพระประแดง ได้แก่ แชเก๊ะ โต๊ะบูงอ แชซัง แชนุฮ์ แชเซ็ง แชเป้า แชลี แชกา บุคคลเหล่านี้เป็นพี่น้องกัน ซึ่งเป็นต้นตระกูล “นิมา” จากสายท่าอิฐ ได้แก่ แชแขวง โต๊ะนา โต๊ะกีโซะฮ์ อันเป็นต้นตระกูล “นามเทวี” และได้ขยายวงกว้างออกไปสู่ตระกูล “เย็นประเสริฐ” เมื่อได้มาอยู่รวมกันแล้ว ปรากฏว่ามีบุคคลเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสามารถที่จะรวมกันทำละหมาดวันศุกร์ได้ ดังนั้นไม่ทราบปี พ.ศ. แน่ชัด แชหวังจึงได้รวบรวมกันสร้างมัสยิดขึ้นในที่ดินของแชหวังเอง ซึ่งทำวากัฟให้มัสยิดและได้ตั้งชื่อว่า “มัสยิดเนี๊ยะมาติ้ลและห์” สร้างอยู่ในเขตท้องที่หมู่ที่ 8 ตำบลราษฎร์นิยม อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี แชหวังจึงได้รับหน้าที่เป็นอิหม่าม ต่อมาแชหวังได้เสียชีวิต ทายาทได้รับมรดก ครั้งนั้นการวากัฟที่ดินให้มัสยิดได้กระทำกันเพียงวาจา มีผู้รับรู้บ้าง แต่ไม่ได้ทำการโอนโฉนดที่ดินให้กับมัสยิด ทายาทผู้รับมรดกจึงได้นำที่ดินนั้นไปจำนำจำนอง ในที่สุดก็ขาดตกเป็นกรรมสิทธิ์ของคนอื่น ที่ดินมัสยิดก็ตกเป็นของผู้อื่นไปด้วย
      เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว แชะเก๊ะ และโต๊บูงอ สามีภรรยาจึงได้วากัฟที่ดินให้มัสยิด โดยแยกบริจาคเป็นสัดส่วนของตนเอง แชะเก๊ะ บริจาค จำนวน 5 ไร่ โต๊บูงอ บริจาค จำนวน 5 ไร่ และให้ทายาทรับรู้แบ่งแยกโฉนดทันที เพื่อความสมบูรณ์ของที่ดินวากัฟนั้น ซึ่งอยู่ในท้องที่ หมู่ที่ 3 ตำบลหน้าไม้ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ในปี พ.ศ. 2475 มัสยิดจึงถูกย้ายข้ามฝั่งมาปลูกอยู่ในสถานที่ดังกล่าว (ตำบลหน้าไม้กับตำบลราษฎร์นิยม มีคลองพระอุดมสอง เป็นเขตกั้นระหว่างจังหวัดปทุมธานีกับจังหวัดนนทบุรี) การปลูกสร้างครั้งนี้ได้พิจารณาถึงความสะดวกในการเดินทางมามัสยิดและการที่จะต้องอาศัยน้ำใช้อาบน้ำละหมาด มัสยิดจึงปลูกสร้างใกล้กับคลองหรือลำกระโดง เพื่อจะได้อาศัยเรือในการเดินทาง และใช้น้ำในการอาบน้ำละหมาดได้ตลอดปี
      ต่อมาทางราชการได้ทำการขุดลอกลำกระโดง ให้เป็นคลองส่งน้ำในระบบของชลประทาน จึงทำให้ลำกระโดงกว้างใหญ่ออกไป จำเป็นต้องรื้อและย้ายถอยหลังมัสยิดให้ห่างคลองออกไปอีก การก่อสร้างในครั้งนั้นจึงใช้ไม้เก่าเป็นส่วนมาก สภาพมัสยิดจึงชำรุดทรุดโทรมลงตามลำดับ เนื่องจากไม้หมดสภาพนั่นเอง ดังนั้นในปี พ.ศ. 2509 คณะกรรมการมัสยิดและสัปปุรุษจึงได้ลงมติให้ทำการก่อสร้างอาคารมัสยิดหลังใหม่ จึงมีการย้ายสถานที่ก่อสร้างร่นถอยหลังมาเล็กน้อย เพื่อความเหมาะสมกับเหตุการณ์ในอนาคต เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น กว้าง 14 เมตร ยาว 24 เมตร ซึ่งทำการก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณปี พ.ศ. 2525 และได้มีการปรับปรุง ซ่อมแซมกันอยู่เรื่อยๆ จนเป็นมัสยิดที่สมบูรณ์และสวยงามในปัจจุบันนี้

รายชื่อคณะกรรมการประจำมัสยิด

นาย ประสาร เย็นประเสริฐ

(อิหม่าม)

นายประเสริฐ นิมา

( คอเต็บ )

นายแฉล้ม นิมา

( บิหลั่น )

นายโซมิน ศรีโคตร

( เลขานุการ )

นายสมหวัง นิมา

( เหรัญญิก )

นายอดุล อาดำ

( นายทะเบียน )

นายบุรี นิมา

( กรรมการ )

นายมิน นิมา

( กรรมการ )

นายอุสต้าด มณี

( กรรมการ )

นายแสวง ฉิมวิเศษ

( กรรมการ )

นายจาตุรงค์ เย็นประเสริฐ

( กรรมการ )

นายสมศักดิ์ เย็นมประเสริฐ

( กรรมการ )

นายสมาน ปิ่นทอง

( กรรมการ )

นายเกษม แสงมาน

( กรรมการ )

นายเกษม แสงมาน

( กรรมการ )